คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ลำดับที่
สาขาวิชา
ภาคปกติ
ความก้าวหน้า
ในอาชีพ
หลักสูตร
จำนวนที่รับ
คุณสมบัติ
1
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
20
ศึกษาใน ทุกแผนการเรียน สามารถสมัครเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน เช่น วิศวกรซอฟต์แวร์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ โปรแกรมเมอร์ วิศวกรความต้องการ นักประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ นักทดสอบระบบ นักบูรณาการระบบ ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้บริหารโครงการซอฟต์แวร์
2

วิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม

ลิงค์สาขาวิชา เพื่อสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม

30
ศึกษาใน ทุกแผนการเรียน สามารถทำงานในตำแหน่งที่หลากหลายในภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น ตำแหน่งวิศวกรอุตสาหการ วิศวกรสิ่งแวดล้อม วิศวกรฝ่ายผลิต งานด้านการควบคุมคุณภาพ (QC) การประกันคุณภาพของสินค้า งานด้านการวางแผนและควบคุมการผลิต งานด้านการจัดการซ่อมบำรุง งานด้านการจัดการคลังสินค้า การขนส่งและกระจายสินค้า ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการประกอบธุรกิจส่วนตัวได้อีกด้วย ในส่วนงานราชการสามารถสมัครในตำแหน่งที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมได้ นักวิชาการอุตสาหกรรม นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นักวิจัย ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
3
วิทยาศาสตร์การกีฬา
50
ศึกษาใน ทุกแผนการเรียน สามารถสมัครเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน เช่น สถานออกกำลังกายของเอกชน บริษัท ห้างร้านต่าง ๆ ธุรกิจขนาดย่อมของตนเอง เช่น Fitness Center สถานออกกำลังกาย แบบครบวงจรฯลฯ นักวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ผู้จัดและดำเนินการการกีฬา และนันทนาการเพื่อธุรกิจ และนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยว ผู้จัดและดำเนินการทางอุตสาหกรรม ด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับการกีฬา และนันทนาการ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ที่เน้นการบริหารจัดการ กิจกรรมนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์สุขภาพ หรือสมรรถภาพทางกาย สโมสรต่าง ๆ ผู้ฝึกสอนและผู้จัดการการกีฬา
4
เทคโนโลยีการเกษตร
20
ศึกษาใน ทุกแผนการเรียน สามารถสมัครเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ข้าราชการหรือพนักงานในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น ได้แก่ นักวิชาการ นักวิจัย ประจำหน่วยงานทั้งทางด้านพืชและสัตว์ หรือที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น สถานีวิจัยพืชสวน สถานีวิจัยพืชไร่ ศูนย์วิจัยพันธุ์พืช ศูนย์หม่อนไหม สำนักงานปศุสัตว์ สำนักงานประมง เป็นต้น นักวิจัย เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ผู้ควบคุมการผลิต หรือพนักงานในบริษัท รวมถึงงานทุกประเภท ที่ต้องการพนักงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานี้ พนักงานธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขาย และพนักงานขายในหน่วยงานเอกชน ทั้งด้านพืชและสัตว์ ประกอบอาชีพส่วนตัว ด้วยการเป็นเจ้าของฟาร์มพืชเศรษฐกิจ เช่น พืชไร่เศรษฐกิจ ไม้ผล ฟาร์มสัตว์เศรษฐกิจ เช่น ฟาร์มเลี้ยงไก่ ฟาร์มเลี้ยงวัว สัตว์น้ำจืด ฟาร์มเลี้ยงสุกร เป็นต้น
5
เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหาร
30
ศึกษาใน ทุกแผนการเรียน

ภาครัฐ
- นักวิชาการ รวมถึงนักวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางด้านอาหาร ได้แก่ สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล กรมพัฒนาชุมชน กรมวิชาการเกษตร องค์การอาหารและยา องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
- ครูในสถาบันการศึกษา (กรณีมีใบประกอบวิชาชีพครู)

ภาคเอกชน
- ผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจขนส่งอาหาร ธุรกิจการแปรรูปผลิตภัณฑ์ อาหาร และการบริการ
- ฝ่ายควบคุมคุณภาพการผลิตในโรงงานแปรรูปอาหาร หรือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
- ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ในโรงงานแปรรูปอาหาร หรือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
- ฝ่ายจัดซื้อ/จัดหา วัตถุดิบและอุปกรณ์เครื่องมือ ที่ใช้ในโรงงานแปรรูปอาหาร หรือ อุตสาหกรรม แปรรูปอาหาร
- ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการเกษตร เทคโนโลยีการอาหารและที่เกี่ยวข้องกับอาหาร

6
วิศวกรรมโลจิสติกส์
30
ศึกษาใน ทุกแผนการเรียน สามารถสมัครเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน เช่น เจ้าหน้าที่จัดซื้อ เจ้าหน้าที่วางแผนการผลิต เจ้าหน้าที่วางแผน และประสานงานเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ เจ้าหน้าที่คลังสินค้าและ
ศูนย์กระจายสินค้า เจ้าหน้าที่วางแผนการขนส่ง เจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าในธุรกิจขนส่ง ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว นักวิเคราะห์ระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
7
สาธารณสุขชุมชน
50
กำลังศึกษาอยู่ หรือสำเร็จการศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ศึกษาในแผนการเรียน วิทย์ - คณิต หรือเทียบเท่า (คณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ,วิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต, ภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต) จากสถาบัน ที่กระทรวงศึกษา ให้การรับรอง มีผลการเรียน เฉลี่ยสะสม 5 ภาคเรียน 2.50 ขึ้นไป พร้อมแนบใบรับรองแพทย์ ว่ามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ และไม่มีความผิดปกติ ด้านสุขภาพจิต (ใบรับรองแพทย์ จากโรงพยาบาลของรัฐ)
สามารถสมัครเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน เช่น นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นักวิชาการสุขศึกษา นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ นักวิชาการควบคุมโรค
8
วิทยาการคอมพิวเตอร์
20
ศึกษาใน ทุกแผนการเรียน สามารถสมัครเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน เช่น นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบ ระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ ผู้ดูแลระบบเครือข่าย ผู้บริหารระบบฐานข้อมูล (ระบบสารสนเทศ) ผู้จัดการและประสานโครงการซอฟต์แวร์ ผู้บริหารและพัฒนาเว็บไซต์ นักออกแบบคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน และกราฟิก ผู้ช่วยนักวิจัย หรือนักวิจัย ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ผู้ให้คำปรึกษา ด้านระบบคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ประกอบการด้านธุรกิจคอมพิวเตอร์
9
การออกแบบผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมวัสดุ
30
ศึกษาใน ทุกแผนการเรียน

ภาครัฐ
1) นักวิชาการอุตสาหกรรมจังหวัด
2) นักวิจัยและพัฒนา
3) นักปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีวัสดุ
4) นักวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์

ภาคเอกชน
1) ผู้ประกอบการรายย่อยในธุรกิจออกแบบผลิตภัณฑ์
2) นักออกแบบนิทรรศการ
3) นักสร้างต้นแบบ
4) นักประดิษฐ์ทางด้านหัตถศิลป์
5) นักพัฒนาผลิตภัณฑ์
6) นักออกแบบตกแต่งภายใน
7) นักทดสอบศูนย์เครื่องมือด้านวัสดุ
8) เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ

10
เทคโนโลยีโยธาและสถาปัตยกรรม
30
ศึกษาใน ทุกแผนการเรียน สามารถสมัครเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน เช่น นักวิชาการด้าน เทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา และสถาปัตยกรรม หัวหน้า/เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานโยธา หัวหน้า/เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานสถาปัตยกรรม หัวหน้า/เจ้าหน้าที่ฝ่ายผังเมือง หัวหน้า/เจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผน และควบคุมโครงการงานโยธา และสถาปัตยกรรม หัวหน้า/เจ้าหน้าที่ฝ่ายออกแบบ โครงการงานโยธา และสถาปัตยกรรม หัวหน้า/เจ้าหน้าที่ฝ่ายเขียนแบบ และประมาณราคางานโยธา และสถาปัตยกรรม หัวหน้า/เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานโยธา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้า/เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานสถาปัตยกรรม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม งานโยธาขนาดกลางและขนาดย่อม
11
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
40
กำลังศึกษาอยู่ หรือสำเร็จการศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ศึกษาในแผนการเรียน วิทย์ - คณิต มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 5 ภาคเรียน 2.00 ขึ้นไป

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สามารถขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และสามารถประกอบอาชีพได้ในหน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระ โดยสามารถประกอบอาชีพในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น
1) ภาครัฐ / รัฐวิสหกิจ
บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในหน่วยงาน ภาครัฐที่สังกัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสหกิจ ดังนี้
1.1 นักวิชาการแรงงาน สังกัดกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
1.2 นักวิจัยด้านสาธารณสุข วิทยาศาสตร์สุขภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
1.3 นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการด้านการเก็บตัวอย่าง วิเคราะห์ตัวอย่างมลพิษในสถานที่ทำงาน มลพิษทางอากาศ
1.4 พนักงานตรวจความปลอดภัย ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
1.5 นักวิชาการสาธารณสุข สังกัดสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
1.6 นักวิชาการสุขาภิบาลและการสิ่งแวดล้อม สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
1.7 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ในรัฐวิสหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การยาสูบแห่งประเทศไทย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น

2) ภาคเอกชน
2.1 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
2.2 นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม
2.3 นักอาชีวอนามัย
2.4 ที่ปรึกษาด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
2.5 อาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เช่น เมื่อมีประสบการณ์การทำงาน สามารถขึ้นทะเบียนเป็นวิทยากรด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน วิทยากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นต้น

3) ประกอบอาชีพอิสระด้านอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น วิทยากรอิสระด้านความปลอดภัย เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ผู้ประกอบการ/พนักงานขายอุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย เป็นต้น

12
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
20
ศึกษาใน ทุกแผนการเรียน อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) นักวิชาการคอมพิวเตอร์
2) นักออกแบบโปรแกรมประยุกต์
3) นักออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์
4) นักเขียนภาษาคอมพิวเตอร์บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ (Multi-Platform Programmer)
5) ผู้ดูแลระบบเครือข่าย
6) นักพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation Developer)
7) นักพัฒนาเว็บไซต์
8) นักวิชาชีพในสถานประกอบการ ที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล

 

* หากสาขาวิชาหรือแขนงวิชาใด มีนักศึกษาไม่ถึง 10 คน มหาวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์ไม่เปิดสอน